• ชื่อปริญญาและสาขาวิชา
    • ชื่อเต็ม (ไทย): ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (เทคนิคศึกษา)
    • ชื่อย่อ (ไทย): ปร.ด. (เทคนิคศึกษา)
    • ชื่อเต็ม (อังกฤษ): Doctor of Philosophy (Technical Education)
    • ชื่อย่อ (อังกฤษ): Ph.D. (Technical Education)
  • การรับเข้าศึกษา
    • รับนักศึกษาไทย และนักศึกษาต่างประเทศที่สามารถใช้ภาษาไทยได้ จบการศึกษาระดับปริญญาโท ตามประกาศมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี เรื่อง การรับสมัครบุคคลเข้าศึกษาต่อระดับบัณฑิตศึกษา

ข้อมูลหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเทคนิคศึกษา แบบ 2.1 ภาคปกติ

1. ระยะเวลาที่ใช้ในการศึกษา 3 ปีการศึกษา ไม่เกิน 6 ปีการศึกษา

2. โครงสร้างหลักสูตร จำนวนหน่วยกิตรวม 48 หน่วยกิต ประกอบด้วย
2.1 หมวดวิชาบังคับ 42 หน่วยกิต
2.1.1 วิชาบังคับเฉพาะสาขา 6 หน่วยกิต
2.1.2 ดุษฎีนิพนธ์ 36 หน่วยกิต
2.2 หมวดวิชาเลือก 6 หน่วยกิต
2.2.1 วิชาเลือก 6 หน่วยกิต

  1. แผนการศึกษา

ภาคการศึกษาที่ 1

หน่วยกิต ทฤษฎี

ปฏิบัติ

02-200-801

ระเบียบวิธีวิจัยขั้นสูง 3 3

0

02-200-8xx

วิชาชีพเลือก 3 x x

รวม

6 x

x

ภาคการศึกษาที่ 2

หน่วยกิต ทฤษฎี

ปฏิบัติ

02-200-802

สัมมนาด้านเทคนิคศึกษา

3 2

2

02-200-815

ดุษฎีนิพนธ์

3 0

0

02-200-8xx

วิชาชีพเลือก

3 x

x

รวม

9 x

x

ตั้งแต่ภาคการศึกษาที่ 3-6 ลงทะเบียนรายวิชาดุษฎีนิพนธ์

 

  1. ประมาณการค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตร

รายละเอียดค่าใช้จ่าย

ปีการศึกษา 2559-2561 หมายเหตุ
ภาคการศึกษาที่ 1 ภาคการศึกษาที่ 2 ภาคการศึกษาที่ 3-6  

ค่าขึ้นทะเบียนเป็นนักศึกษา

3,000.-

 

ค่าบำรุงการศึกษา

30,000.- 30,000.- 30,000.-

 

ค่าลงทะเบียน

6,000.- 12,500.- 18,000.-

ตามจำนวนหน่วยกิตที่ลงทะเบียน

 

ค่าบำรุงห้องสมุดและบริการอินเตอร์เน็ต

2,500.- 2,500.- 2,500.-

 

รวมค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตร ประมาณ 288,500.- บาท

ค่าใช้จ่ายดังกล่าว ไม่รวมค่าธรรมเนียมการศึกษา ได้แก่
1. ค่าสอบวัดคุณสมบัติต่อครั้ง ต่อชุดวิชา 3,000.- บาท
2. ค่าขึ้นทะเบียนดุษฎีบัณฑิต 3,000.- บาท
3. ในกรณีที่นักศึกษาลงทะเบียนเรียนครบหน่วยกิต ตามแผนการศึกษาในหลักสูตรแล้ว แต่ยังไม่สำเร็จ
การศึกษาได้อย่างสมบูรณ์ ให้ชำระค่าธรรมเนียมรักษาสภาพการเป็นนักศึกษา ภาคการศึกษาละ 10,000.- บาท

5. คุณสมบัติของผู้สมัคร
5.1 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโททุกสาขาหรือเทียบเท่า
5.2 ผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทในสาขาที่ไม่เกี่ยวข้องทางการอาชีวศึกษาหรือเทคนิคศึกษา จะต้องศึกษาเพิ่มเติมเพื่อปรับพื้นฐาน ในรายวิชา 02-200-900 ปรัชญาอาชีวะและเทคนิคศึกษา
5.3 ผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทในสาขาที่ไม่เกี่ยวข้องทางการอาชีวศึกษาหรือเทคนิคศึกษา แต่มีประสบการณ์ในการจัดการศึกษาทางด้านอาชีวศึกษาหรือเทคนิคศึกษา สามารถเทียบโอนประสบการณ์ในรายวิชา 02-200-900 ปรัชญาอาชีวะและเทคนิคศึกษาได้
5.4 มีประสบการณ์ในการทำงานอย่างน้อย 3 ปี ถ้าไม่มีประสบการณ์ ให้อยู่ในดุลพินิจของคณะกรรมการบริหารหลักสูตร

6. รายละเอียดการสอบคัดเลือก
สอบข้อเขียน วิชาพื้นฐานเฉพาะสาขา (100 คะแนน) มีรายละเอียด ดังนี้
– สถิติและการวิจัยทางการศึกษา
– หลักสูตรอาชีวะและเทคนิคศึกษา
– การจัดการเรียนการสอนทางเทคนิคศึกษา
– เทคโนโลยีสาหรับเทคนิคศึกษา

7. หลักฐานที่ใช้ในการสอบสัมภาษณ์
ให้ผู้สมัครนำเอกสารหลักฐานที่ลงชื่อรับรองสำเนาถูกต้องยื่นต่อคณะกรรมการสอบสัมภาษณ์ ดังนี้
7.1 สำเนาบัตรประชาชนหรือสำเนาบัตรข้าราชการ จำนวน 1 ฉบับ
7.2 สำเนาเอกสารแสดงผลตามเกณฑ์มาตรฐานความรู้ภาษาอังกฤษ จำนวน 1 ฉบับ (ถ้ามี)
7.3 หลักฐานอื่นๆ เช่น ใบทะเบียนสมรส / ใบเปลี่ยนชื่อ – นามสกุล (ถ้ามี) จำนวน 1 ฉบับ
7.4 หนังสือรับรองประสบการณ์ทำงาน
7.5 Concept Paper ในหัวข้อวิจัยที่เกี่ยวข้องทางด้านเทคนิคศึกษาของคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม

การติดต่อดร.อร่ามศรี อาภาอดุล
คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม
โทรศัพท์ : 0-2549-4734 หรือ 08-1989-8770
E-mail : aarphaadul@gmail.com

ข้อมูลอ้างอิง